หมวดหมู่: สุขภาพ

► ฟ้าทะลายโจร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees (วงศ์ Acanthaceae)
ชื่ออื่น : ฟ้าทะลาย หญ้ากันงู น้ำลายพังพอน เมฆทะลาย ฟ้าสะท้าน

ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย “ฟ้าทะลายโจร” จัดเป็นสมุนไพรที่มีรสขม อยู่ในกลุ่มยาเย็น มีสรรพคุณทางการแพทย์แผนไทย ใช้บรรเทาอาการไข้หวัด แก้ไอและเจ็บคอ เป็นสมุนไพรที่ได้ถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (บัญชียาจากสมุนไพร) กระทรวงสาธารณสุข ในรูปแบบยาเดี่ยว

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวสมุนไพรฟ้าทะลายโจรกันอย่างแพร่หลาย มีข้อมูลสนับสนุนจากงานวิจัยทางคลินิก พบว่า สมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีส่วนช่วยรักษาอาการของโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ (acute respiratory tract infection) เช่น อาการไอ อาการเจ็บคอได้ดี ในปี พ.ศ.2555 ได้มีข้อมูลงานวิจัย จากผู้ป่วยจำนวน 807 คน พบว่าผลิตภัณฑ์สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ขนาดรับประทาน 31.5-200 มิลลิกรัม/วัน รับประทานเป็นเวลา 3-10 วัน มีผลช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการไอเนื่องจากไข้หวัด (common cold) และอาการอักเสบของระบบทางเดินหายใจส่วนบนได้

ในมุมมองการเกิดโรคหรืออาการตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยนั้น อาการไข้ ไอ เจ็บคอ เป็นอิทธิพลของธาตุไฟที่เพิ่มปริมาณสูงขึ้น ทำให้เกิดอาการดังกล่าว เราจึงสามารถใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็น (สมุนไพรฟ้าทะลายโจร) เพื่อใช้ในการรักษาอาการที่ส่งผลมาจากอิทธิพลของไฟที่เพิ่มขึ้นได้ พูดง่ายๆคือ ใช้ความเย็น ปรับหรือลดปริมาณความร้อนในร่างกายให้สมดุลนั่นเอง แต่หากใช้ในปริมาณเกินความจำเป็นก็อาจส่งผลทำให้ ร่างกายมีปริมาณความเย็นเกินไป ส่งผลทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ตามมาได้ เช่น อาการชาต่างร่างกาย แขน-ขาอ่อนแรง ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเสีย หรือผื่นแพ้ตามร่างกาย เป็นต้น

คำแนะนำ
บรรเทาอาการเจ็บคอ
บรรเทาอาการของโรคหวัด (common cold) เช่น เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

ขนาดและวิธีใช้
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 2 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน

ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ ในผู้ที่มีอาการแพ้ ฟ้าทะลายโจร
ห้ามใช้ ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร เนื่องจากอาจทำให้เกิดทารกวิรูปได้

คำเตือน
หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้แขนขามีอาการชาหรืออ่อนแรง
หากใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 3 วัน แล้วไม่หาย หรือ มีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ ยา ควรหยุดใช้ และพบแพทย์
ควรระวังการใช้ร่วมกับสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
ควรระวังการใช้ร่วมกับยาลดความดันเลือดเพราะอาจเสริมฤทธิ์กันได้
ควรระวังการใช้ร่วมกับยาที่กระบวนการเมแทบอลิซึม ผ่านเอนไซม์ Cytochrome P450 (CYP) เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP1A2, CYP2C9 และCYP3A4

อาการไม่พึงประสงค์
อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติของทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ เบื่ออาหาร วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น และอาจเกิดลมพิษได้

อ้างอิง
http://kpo.moph.go.th/webkpo/tool/Thaimed2555.pdf
https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0484.pdf

ที่มา
https://med.mahidol.ac.th/altern_med/th/km/19jun2020-1729

► โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (BELL’S PALSY)

อาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
การที่เปลือกตาและมุมปากตกลง รวมทั้งน้ำลายไหลออกจากมุมปาก และขยับยิ้มมุมปากด้านที่เกิดปัญหาไม่ได้ตามปกตินั้นเกิดจากภาวะที่เส้นประสาทควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหน้ามีการอักเสบหยุดการทำงาน ทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงด้านเดียวกัน หรือจะระบุว่าเกิดจากการที่เส้นประสาทที่ 7 ก็ได้ โดยโรคนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า BELL’S PALSY (เบลล์พัลซี่)

อาการแสดง

  • อาจเกิดอาการนำคือ ปวดที่บริเวณด้านหน้าหรือหลังหู 1-2 วัน
  • กล้ามเนื้อแสดงสีหน้าเป็นอัมพาตครึ่งซีก โดยปิดตาและ ยักคิ้วข้างนั้นได้ลดลง หรือเวลาหลับตาแล้วปิดตาไม่สนิทส่งผลให้เกิดสภาพตาแห้ง
  • รู้สึกตึงหรือหนักที่ใบหน้าซีกนั้น
  • เสียงก้องที่หูข้างเดียวกัน หูอื้อ
  • บางครั้งอาจมีอาการชาลิ้น

สาเหตุของอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
เส้นประสาทที่ 7 เกิดการอักเสบนั้นมีหลักฐานพบว่ามักเป็นจากเชื้อเริมที่มีชื่อเรียกว่า เฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ไวรัส (Herpes simplex virus : HSV) มีอาการร้อนในโดยเกิดแผลร้อนในที่ปากและอวัยวะเพศ ส่วนสาเหตุจากเชื้ออื่นๆ ยังมีงูสวัด หรือ เฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ไวรัส (Herpes zoster virus) ไซโตเมกะโลไวรัส (cytomegalovirus),และเอ็บสไตบาร์ไวรัส (Epstein Barr virus) ซึ่งเมื่อเกิดการอักเสบแล้วจะทำให้เส้นประสาทบวม มีผลทำให้เส้นเลือดขนาดเล็กส่งเลือดไปเลี้ยงเส้นประสาทไม่ได้ จึงรบกวนการทำงานของเส้นประสาทจนไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าให้ทำงานได้ที่กล้ามเนื้อสำหรับใช้ปิดตาและยิ้ม

การวินิจฉัยอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจร่างกายเป็นหลัก โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ในรายที่มีอาการนี้มานานเกิน 2 เดือน แล้วยังไม่ดีขึ้นอาจต้องใช้วิธีเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็ก (MRI SCAN) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเนื้องอกเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามโรคเส้นประสาทที่ 7 อักเสบ หรือ BELL’S PALSY ส่วนใหญ่หายได้หมด กลับมาปกติ น้อยมากที่จะไม่หายสนิทหรือไม่หายและมีโอกาสน้อยมากที่จะเป็นซ้ำส่วนใหญ่หายได้สนิทใน 2 เดือน

การรักษาอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

  • ยาแก้อักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อการอักเสบบวมของเส้นประสาท
  • ยาฆ่าเชื้อไวรัส ในกรณีพบอาการแสดงของการติดเชื้อไวรัสงูสวัดร่วมด้วย
  • กายภาพบำบัด เช่น การกระตุ้นเส้นประสาทด้วยกระแสไฟฟ้า หรือ การนวดใบหน้า ซึ่งจะช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อตึงเกร็งได้
  • การรักษาตามอาการอื่นๆ ได้แก่ การหยอดน้ำตาเทียมและป้ายตาด้วยขี้ผึ้งยาเพื่อป้องกันกระจกตาเป็นแผลหรือการให้วิตามินบำรุงสายตา

การปฏิบัติตัวหลังมีอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • งดดื่มสุรา
  • เนื่องจากตาจะปิดไม่สนิท จึงควรสวมแว่นกันลมหรือปิดตาป้องกันกระจกตาแห้งและเป็นแผล
  • บริหารกล้ามเนื้อใบหน้าด้วยตนเองได้โดย

ที่มา
http://www.errama.com/system/spaw2/uploads/files/case%20repo..Bell.pdf
https://www.ram-hosp.co.th
https://petcharavejhospital.com
https://www.me2care.com/bell-palsy